รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้ทีมพนักงานเฉพาะกิจบางซื่อ-นครราชสีมา ยังคงดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมเก้าอี้ทรงไข่ 36 ตัว ที่นำมาจากสถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีสภาพชำรุด และถูกตั้งทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งาน เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดี และนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ ปัจจุบันซ่อมแซมแล้วเสร็จ 12 ตัว และนำไปตั้งบริการไว้ที่บริเวณชั้น 1 ประตู 4 ด้านหน้าจุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร ภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะมีเสียงสะท้อนจากหลายคนว่า ไม่เข้ากับสถานที่ แต่ก็ไม่ถอดใจ ยังคงซ่อมแซมต่อไป เพราะอยากให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของสิ่งของที่อยู่คู่กับรถไฟ และเป็นอัตลักษณ์ของรถไฟมาตั้งแต่อดีต เป็นการเชื่อมอดีตสู่ปัจจุบัน คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เก้าอี้ทรงไข่ที่นำมาปรับปรุงครั้งนี้ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ใช้งบประมาณในการซ่อมแซมไม่มาก มีเพียงแค่ค่าสีทาไม้ และค่าแล็กเกอร์เคลือบเงาไม้เท่านั้น คาดว่าการซ่อมแซมจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในสิ้นเดือน ก.ค. 66 สำหรับวิธีการซ่อมแซมก็จะพิจารณาว่า หากเก้าอี้ตัวไหนชำรุดมากจนเกินเยียวยา ก็จะนำไม้ของเก้าอี้ตัวนั้นมาใช้ในการซ่อมแซมตัวอื่นๆ อาทิ เก้าอี้ทรงไข่จากสถานีรถไฟยะลา นำมา 16 ตัว แต่ใช้งานได้ประมาณ 10-12 ตัว โดยไม้ของเก้าอี้ทรงไข่นั้น เป็นไม้โบราณ ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงคงทน อาทิ ไม้สัก และไม้เต็ง ซึ่งหากไปสั่งทำเก้าอี้ทรงรูปไข่ตัวใหม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายตัวละประมาณ 4-5 หมื่นบาท คำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

รายงานข่าวแจ้งอีกว่าการนำเก้าอี้ทรงไข่มาตั้งวางไว้ที่สถานีกลางฯเป็นการเพิ่มความแตกต่างและนำมาตกแต่งสถานีกลางฯเป็นการอนุรักษ์ของเก่าให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการไว้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันไม่ได้มีเจตนาเอามาทดแทนเก้าอี้เดิมที่มีอยู่แต่อย่างใดซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกอย่างต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเรายอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนและจะนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นปัจจุบันยังจัดทำไม่เสร็จเต็มรูปแบบหลังจากนี้ต้องปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณดังกล่าวทำให้มีความสวยงามและกลมกลืนกันต่อไปในส่วนของเก้าอี้ทรงไข่12ตัวที่ซ่อมแซมแล้วเสร็จและนำมาตั้งไว้ก่อนหน้านี้ได้รับการตอบรับอย่างดีมีผู้โดยสารจำนวนมากให้ความสนใจมานั่งใช้บริการกัน

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เก้าอี้ทรงรูปไข่ได้นำมาตั้งไว้บริเวณด้านหน้าในพื้นที่เข้า-ออกสถานีกลางฯ ซึ่งเดิมไม่ค่อยมีเก้าอี้นั่ง ส่วนพื้นที่ภายใน ซึ่งเป็นที่นั่งพักคอยใต้ชั้นชานชาลา จะเป็นเก้าอี้เหล็กแบบสมัยใหม่ทั้งหมด โดยจะนำเก้าอี้เหล็กเดิมที่ตั้งอยู่เดิมบริเวณด้านนอก เข้ามาในโถงภายในพื้นที่พักคอยใต้ชั้นชานชาลา เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารด้านในได้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ที่สถานีกลางฯ มีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟทางไกลประมาณ 1.2-1.3 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ประมาณ 8 พันคนต่อวัน หากไม่ใช่ช่วงเทศกาลต่างๆ ที่มีผู้โดยสารเดินทางเป็นจำนวนมาก เก้าอี้ที่ตั้งไว้คอยบริการผู้โดยสารภายในพื้นที่พักคอยรอขึ้นรถไฟ ก็มีอย่างเพียงพอ.